ปรากฏการณ์ข้างขึ้น-ข้างแรม เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากดวงจันทร์โคจรรอบโลก แล้วทำให้ผู้สังเกตที่อยู่บนโลกมองเห็นแสงที่เกิดจากการสะท้อนจากดวงอาทิตย์แตกต่างกันไป ดวงจันทร์โคจรรอบตัวเองและหมุนรอบโลกในทิศเดียวกับการหมุนของโลกใช้เวลาประมาณ 27.322 วันต่อรอบ(โดยใช้ดวงจันทร์เป็นกรอบอ้างอิง) ทำให้คนบนโลกมองเห็นเพียงด้านเดียว ขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก โลกเองก็หมุนรอบดวงอาทิตย์เช่นเดียวกัน เมื่อดวงจันทร์โคจรครบ 1 รอบโลกก็จะมีการเปลี่ยนตำแหน่งทำให้ดวงอาทิตย์เปลี่ยนตำแหน่งไปจากเดิมด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นดวงจันทร์จึงโคจรครบ 1รอบจึงใช้เวลา 29.5 วัน (โดยใช้เป็นกรอบอ้างอิง) การโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ เช่น ข้างขึ้น ข้างแรม น้ำขึ้นน้ำลง สุริยุปราคา และจันทรุปราคา
ข้อมูลจำเพาะของดวงจันทร์
มวล | 0.073 x 1024 กิโลกรัม |
เส้นผ่านศูนย์กลาง | 3,475 กิโลเมตร |
ความหนาแน่น | 3,340 กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร |
แรงโน้มถ่วง | 1.6 เมตร/วินาที2 |
ความยาวนานของเวลา 1 วัน | 708.7 ชั่วโมง |
ระยะห่างจากดวงอาทิตย์เฉลี่ย | 0.384 x 106 กิโลเมตร |
ระยะใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดบนวงโคจร | 0.363 x 106 กิโลเมตร |
ระยะไกลดวงอาทิตย์ที่สุดบนวงโคจร | 0.406 x 106 กิโลเมตร |
คาบการโคจรรอบดวงอาทิตย์ | 27.3 วัน |
ความเร็วโคจร | 1.0 กิโลเมตร/วินาที |
ระนาบวงโคจรเมื่อเทียบกับระนาบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ | 5.1 องศา |
ความรีของวงโคจร | 0.055 |
ความเอียงของแกนหมุน | 6.7 องศา |
อุณหภูมิเฉลี่ย | -20 องศาเซลเซียส |
ความดันบรรยากาศพื้นผิว | 0 บาร์ |
ระบบวงแหวน | ไม่มี |
สนามแม่เหล็ก | ไม่มี |
ดวงจันทร์ของดาวอังคาร
ดาวอังคารมีบริวารขนาดเล็ก 2 ดวง มีชื่อว่า โฟบอส (Phobos) และดีมอส (Demos) ดวงจันทร์ทั้งสองดวงมีรูปร่างไม่สมมาตร และมีขนาดเล็กกว่า 25 กิโลเมตร นักดาราศาสตร์จึงสันนิษฐานว่า อาจเป็นวัตถุในแถบดาวเคราะห์น้อยที่ถูกแรงโน้มถ่วงของดาวอังคาร ดึงดูดให้โคจรรอบ
|
( จากรูป ซ้าย ดวงจันทร์โฟบอส ขวา ดวงจันทร์ ดีมอส ) |
ดวงจันทร์โฟบอส (Phobos)
เป็นบริวารดวงใหญ่สุดของดาวอังคาร มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 22 กิโลเมตร โคจรอยู่วงในสุด ห่างจากจุดศูนย์กลางของดาวอังคาร 9,378 กิโลเมตร หรือ เพียง 6,000 กิโลเมตรจากผิวดาวอังคาร นับเป็นบริวารที่มีวงโคจรใกล้ดาวแม่มากที่สุดในระบบสุริยะ มีมวล 10.80 ล้านล้านตัน ขนาดโดยเฉลี่ย 22.20 กิโลเมตร (27 x 21.6 x 18.8 กิโลเมตร) โฟบอสมีหลุมขนาดใหญ่ ชื่อว่า สติ๊กนี (Stickney)
ดวงจันทร์ดีมอส (Demos)
เป็นดาวบริวารขนาดเล็กวงนอกของดาวอังคาร มีเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยประมาณ 12 กิโลเมตร และเป็นดาวบริวารที่เล็กที่สุดในระบบสุริยะ มีมวล 1.80 ล้านล้านตัน ขนาดเฉลี่ย 12.60 กิโลเมตร (15 x 12.2 x 11 กิโลเมตร)
ดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดี
ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารทั้งหมด 39 ดวง แต่มีเพียง 4 ดวงที่ใหญ่พอที่จะสังเกตได้ด้วยกล้องดูดาวขนาดเล็กหรือด้วยกล้องสองตา กาลิเลโอเป็นผู้ค้นพบดวงจันทร์ 4 ดวงนี้ จึงเรียกว่า ดวงจันทร์ของกาลิเลโอ (Gallilean Satellites)
1) ไอโอ (Io)
พื้นผิวของดวงจันทร์ไอโอมีอายุน้อยมากและมีหลุมอุกกาบาตอยู่ไม่มากนักซึ่งแตกต่างจากดวงจันทร์บริวารดวงอื่นๆ ไอโอเป็นดวงจันทร์ดวงเดียวที่พบว่ามีภูเขาไฟที่กำลังคุกรุ่นอยู่
2) ยุโรปา (Europa)
ดวงจันทร์ยุโรปามีพื้นผิวที่มีอายุน้อยและมีหลุมอุกกาบาตน้อยเช่นเดียวกับไอโอ แต่มีลักษณะที่แตกต่างออกไปคือ มีพื้นผิวที่เป็นน้ำแข็ง คล้ายกับทะเลน้ำแข็งบนโลก
3) แกนีมีด (Ganymede)
แกนีมีดเป็นดวงจันทร์บริวารที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ แต่มีมวลเพียงครึ่งหนึ่งของดาวพุธ
4) คัลลิสโต (Callisto)
ดวงจันทร์คัลลิสโตมีขนาดเล็กกว่าดาวพุธเล็กน้อย แต่มีมวลเพียง 1 ใน 3 ของดาวพุธ คัลลิสโตเป็นดวงจันทร์ที่มีพื้นผิวที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดและมีหลุมอุกกาบาตมากที่สุดในระบบสุริยะ
ภาพดวงจันทร์ไอโอ โดยMichael Benson ศิลปินในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ใช้ความสามารถทางด้านศิลปะ บวกกับข้อมูลความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สร้างภาพดาวไอโอ ดาวบริวารของดาวพฤหัสบดีดวงนี้ขึ้นมา ซึ่งดาวไอโอนั้น เป็นดาวบริวารของดาวพฤหัสบดี ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอ กาลิเลอี เมื่อวันที่ 7 มกราคม 1610 ตั้งชื่อตาม ไอโอ นักบวชของเฮรา ที่ตกเป็นภรรยาของซูส เป็นดาวที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,642 กิโลเมตร เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับสี่ในระบบสุริยะ พื้นผิวดาวบริวารมีภูเขาไฟที่ยังไม่ดับมากกว่า 400 ลูก ซึ่งยังปะทุซัลเฟอร์ และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ออกมาเป็นครั้งคราว
|
ภาพดวงจันทร์ยุโรปา |
ดวงจันทร์ของดาวเสาร์
ดาวเสาร์มีดวงจันทร์บริวาร 53 ดวง
ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ ไททัน (Titan) ที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ ไททันมีชั้นบรรยากาศที่ประกอบไปด้วยก๊าซไนโตรเจนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาจมีสภาพที่คล้ายกับโลกในอดีต การศึกษาบรรยากาศของดาวไททันโดยละเอียดอาจทำให้เราทราบถึงความเป็นมาของโลกได้ดีขึ้น
ดวงจันทร์บริวารที่มีขนาดใหญ่รองลงไปจากไททันได้แก่ รี (Rhea) ดิโอนี (Dione) ไออาเพตุส (Iapetus) เททิส (Tethys) เอนเซลาดุส (Enceladus) และมิมาส (Mimas) ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่า ดวงจันทร์เหล่านี้มีความหนาแน่นน้อยกว่า 1,400 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทำให้เราสามารถสันนิษฐานได้ว่าดวงจันทร์เหล่านี้มีส่วนประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็งและมีหินผสมอยู่เพียงเล็กน้อย
ภาพดวงจันทร์เอนเซลาดัส เป็นดาวบริวารขนาดใหญ่อันดับที่ 6 ของดาวเสาร์ ค้นพบโดย
นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษ-เยอรมันนามว่า วิลเลียม เฮอร์เชล เมื่อปี 1789 นักดาราศาสตร์คาดว่าดวงจันทร์ดวงนี้อาจมีน้ำในสถานะของเหลวใต้แผ่นน้ำแข็งที่ปกคลุมผิวดาว บริเวณขั้วใต้ของดาวยังปรากฏภูเขาไฟน้ำแข็ง (cryovolcano) พ่นอนุภาคน้ำแข็งขนาดเล็กขึ้นสู่ท้องฟ้า ซึ่งอนุภาคบางส่วนตกกลับสู่พื้นผิวดวงจันทร์ในรูปของหิมะ โดยในภาพแสดงร่องน้ำขนาดใหญ่บนดวงจันทร์เอนเซลาดัส ถ่ายภาพโดยยานสำรวจอวกาศแคสซีนี–ไฮเกนส์ และได้พบหลักฐานว่ามีมหาสมุทรขนาดใหญ่อยู่ใต้พื้นผิวของดวงจันทร์เอนดังภาพซลาดัดส
|
ภาพดวงจันทร์เอนเซลาดัส |
ภาพดวงจันทร์ไททัน ของดาวเสาร์ ซึ่งเป็นดาวบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของดาวเสาร์ดังภาพ
ภาพทะเลสาบบนดวงจันทร์ไททัน ของดาวเสาร์ จากภาพเผยให้เห็นว่าทะเลสาบบนดวงจันทร์ไททันนั้นประกอบไปด้วยก๊าซมีเทนบริสุทธิ์ ดวงจันทร์ไททันเป็นวัตถุเพียงชนิดเดียวนอกจากโลกที่มีการค้นพบว่ามีร่องรอยของน้ำอยู่บนดาว ไททันมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าดาวบริวารของโลกประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และมีมวลมากกว่าประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ดังภาพ
ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัส
ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารรวมทั้งสิ้น 21 ดวง ชื่อของดวงจันทร์บริวารมิได้ถูกตั้งตามเทพนิยายกรีก หากแต่ตั้งตามตัวละครในบทประพันธ์ของเช็คสเปียร์และอเล็กซานเดอร์ โป๊ป
มิรันดา (Miranda) เป็นดวงจันทร์ที่น่าสนใจมากที่สุดของดาวยูเรนัส ดังจะเห็นได้ในภาพที่ถ่ายจากยานอวกาศวอยเอเจอร์ 2 ในปี พ.ศ. 2529 ดวงจันทร์มิรันดามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 484 กิโลเมตร (ประมาณหนึ่งในเจ็ดของดวงจันทร์ของโลก) มีขนาดวงโคจรรอบดาวยูเรนัส 129,800 กิโลเมตร พื้นผิวที่ขรุขระของดวงจันทร์มิรันดาไม่ได้เป็นเพียงหลุมอุกกาบาตเท่านั้น แต่เต็มไปด้วยภูเขาและหุบเหวต่างๆ ลักษณะทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นว่าพื้นผิวดวงจันทร์มิรันดา มีการเคลื่อนตัวคล้ายกับการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกนอกจากนี้ยังมีดวงจันทร์บริวารหลักที่สำคัญอีกสี่ดวงคือ แอเรียล (Ariel) อัมเบรียล (Umbriel) ไททาเนีย (Titania) และโอเบรอน (Oberon)
ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. 2324 (ค.ศ.1781) โดย William Herschel ชาวอังกฤษ เป็นดาวเคราะห์ ที่มีวงแหวนคล้ายดาวเสาร์ แต่ค่อนข้างจางมาก และเป็นดาวเคราะห์ดวงเดียว ในระบบสุริยะจักรวาล ที่หมุนรอบตัวเอง โดยทิศตั้งฉาก กับแนวการเคลื่อนที่ รอบดวงอาทิตย์
ดาวเคราะห์ชั้นนอกดวงต่อไปถัดจากดาวเสาร์ได้แก่ดาวยูเรนัส ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นที่สามในระบบสุริยะ มันมีลักษณะเลือนลาง จะต้องมองดูด้วยกล้องโทรทัศน์เท่านั้นจึงสามารถมองเห็น เราเคยคิดว่ามันเป็นดาวฤกษ์ ในปี 1781 William Herschel ได้ใช้กล้องโทรทัศน์ค้นพบว่า ดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เขาเห็นแผ่นกลมสีเขียวที่ไม่มีรอย ต่อมา นักดาราศาสตร์ได้พบดาวบริวารห้าดวง ในปี 1977 ได้มีการพบวงแหวนของดาวยูเรนัส ถึงแม้ว่านักดาราศาสตร์จะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ที่สุด แต่เขาก็ยังไม่สามารถค้นหาอะไรได้มากมายนักเกี่ยวกับดาวยูเรนัสเอง ในปี 1986 ยานอวกาศวอยาเจอร์2 ได้บินผ่านดาวยูเรนัสและได้ส่งภาพที่ชัดเจนของดาวยูเรนัส และวงแหวนตลอดจนดาวบริวารของมันกลับมายังพื้นโลก ในที่สุดเราก็ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับดาวยูเรนัส
ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวารอยู่ 13 ดวง ภาพถ่ายจากยานวอยเอเจอร์แสดงให้เห็นลักษณะของดวงจันทร์บริวารหลักคือ ดวงจันทร์ทริทัน (Triton) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาบริวารทั้ง 13 ดวง ทริทันโคจรรอบดาวเนปจูนสวนทางกับทิศทางการหมุนรอบตัวเองของดาวเนปจูน และคาดว่ามันจะโคจรเข้าใกล้ดาวเนปจูนขึ้นเรื่อยๆ และพุ่งเข้าชนดาวเนปจูนในที่สุด (ใช้เวลาประมาณ 10 ถึง 100 ล้านปี) เมื่อถึงวันนั้นดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่ใหญ่และสวยงามมากกว่าดาวเสาร์อีกด้วย ทริทันมีอุณภูมิที่พื้นผิวประมาณ –235 องศาเซลเซียส ถึงแม้ว่าจะมีอุณภูมิต่ำถึงเพียงนี้ ก็ยังพบไนโตรเจนในรูปของก๊าซพุ่งออกจากบริเวณขั้วใต้ของดาว ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากไนโตรเจนแข็งที่ปกคลุมอยู่บริเวณขั้วใต้ของดาวเกิดการระเหิดเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้นในฤดูร้อน
ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์ที่ถูกค้นพบ เมื่อปี พ.ศ. 2389 (ค.ศ.1846) โดย Johann Galle และ Heinrich D'Arrest เป็นดาวเคราะห์ ที่ไกลที่สุด ที่มีการส่งยานไปสำรวจ (โดย Voyager) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่า อาจมีมหาสมุทร ขนาดมหึมา ปกคลุมผิวดาวดวงนี้อยู่
เมื่อดาวเนปจูนถูกค้นพบ คนได้วันเส้นทางของมันผ่านอวกาศ การหมุนรอบของดาวเนปจูนมีลักษณะผิดปกติบางคนคิดว่าจะต้องมีดาวเคราะห์ดวงใหญ่อีกดวงหนึ่ง ดาวเคราะห์ที่ไม่เป็นที่รู้จักอาจอยู่ถัดจากดาวเนปจูน แรงโน้มถ่วงของมันอาจจะดึงไปที่ดาวเนปจูนจึงทำให้การหมุนของมันเปลี่ยนแปลง ในปี 1845 นักดาราศาสตร์สองคนที่ทำงานคนละที่ในอังกฤษและฝรั่งเศสรู้ว่าดาวเคราะห์ดวงใหม่อยู่ที่ใหน ทั้งสองมีความเห็นตรงกัน คนอื่นๆก็เริ่มลงมือศึกษาดาวเคราะห์ดวงใหม่นี้ ในปี 1846 ชาวเยอรมันชื่อ Johann Galle ได้พบโลกใหม่ด้วยกล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่ มันอยู่ในตำแหน่งที่นักดาราศาสตร์คนอื่นได้ระบุไว้ก่อนแล้ว ดาวเคราะห์ดวงใหม่มีสีน้ำเงินมีชื่อว่าดาวเนปจูนตามชื่อเทพเจ้าแห่งทะเลโรมัน
ดาวเนปจูนโตเกือบเท่าดาวยูเรนัส มันเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ในระบบสุริยะ มันอยู่ห่างไกลจากโลกมาก จึงทำให้มองเห็นสลัวมาก ดาวเนปจูนสามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตา มันดูคล้ายกับดาวฤกษ์ ยังไม่มียานอวกาศที่เคยไปยังดาวเนปจูน สิ่งที่เรารู้ทั้งหมดก็คือ ดาวเคราะห์ดวงนี้มองเห็นจากโลก ก็เหมือนกับดาวยูเรนัส มีมหาสมุทร น้ำที่ลึกล้อมรอบแกนหินซึ่งอยู่ใจกลางของดาวเนปจูน บรรยากาศของดาวเนปจูนไม่เต็มไปด้วยหมอกเหมือนกับดาวยูเรนัส กล้องโทรทัศน์ขนาดใหญ่แสดงให้เห็นแถบกลุ่มควันขาวที่หมุนรอบดาวเนปจูน บรรยากาศจะเย็นมาก กลุ่มควันประกอบด้วยมีเทนที่แข็ง บางครั้งกลุ่มควันเหล่านี้จะกระจายออกและปกคลุมดาวเนปจูนทั้งดวง อาจมีลมพัดจัดบนดาวเนปจูน ลมเกิดจากอากาศร้อนที่ลอยขึ้น ลมเย็นพัดเข้าไปแทนที่ บนดาวเนปจูน ความร้อนต้องมาจากภายในเพื่อทำให้ลมพัด ในเดือนสิงหาคม ปี 1989 ยานวอเยเจอร์ 2 ได้ไปถึงดาวเนปจูน มันบินผ่านและส่งภาพและการวัดกลับมายังพื้นโลกเราคงมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับดาวเนปจูน ต่อจากนั้น ยานวอเยเจอร์ 2 จะบินออกจากระบบสุริยะตั้งแต่ได้ออกจากโลกไปในปี 1977 ยานอวกาศจะบินผ่านดาวเคราะห์ชั้นนอกสี่ดวง ยังไม่มียานลำใดที่ได้ไปยังดาวเคราะห์ต่างๆมากเหมือนยานวอยาเจอร์
ส่วนโค้งและดาวบริวารของดาวเนปจูน
หลังจากที่ได้มีการค้นพบว่า ดาวยูเรนัสมีวงแหวน คนเริ่มมองหาวงแหวนรอบๆดาวเนปจูนเขาใช้กล้องโทรทัศน์มองดูดาวเนปจูนเมื่อมันเคลื่อนใกล้ดาวฤกษ์ ถ้าดาวเนปจูนมีวงแหวนมันก็จะผ่านด้านหน้าของดาวฤกษ์ วงแหวนแต่ละวงจะตัดแสงของดาวฤกษ์ชั่วขณะหนึ่ง ในปี 1981 นักคณิตศาสตร์คนหนึ่งได้เห็นการลิบหรื่ของดาวฤกษ์ ตั้งแต่นั้น คนบางคนได้เห็นการลิบหรื่แต่บางคนไม่เห็นอะไรเลย บางมีดาวเนปจูนอาจมีวงแหวนที่เป็นชิ้นส่วนที่แตกออกเป็นชิ้นๆมันอาจมีส่วนโค้งสั้นๆ แทนที่จะเห็นวงแหวนทั้งวง ส่วนโค้งจะหมุนรอบดาวเนปจูน
ดาวเนปจูน เป็นดาวเคราะห์ดวงที่แปดในระบบสุริยะของเรา ดาวเนปจูนมีอีกชื่อในภาษาไทยว่า ดาวสมุทร
อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ประมาณ 4,500 ล้านกิโลเมตร ใช้เวลาในการเคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์นานถึง 165 ปีของโลก
การค้นพบดาวเนปจูนเป็นอีกหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ดาราศาสตร์ นั่นคือหลังจากที่เราค้นพบดาวยูเรนัสแล้ว นักวิทยาศาสตร์พบว่าการโคจรของดาวยูเรนัสมีความคลาดเคลื่อนไปจากกฎการเคลื่อนที่ของนิวตัน โดยที่ จอห์นคอช อดัมส์ และ เลอ เวอร์ริเยร์ ได้ทำการทำนาย(แยกกัน) ว่ามีวัตถุอยู่ในอวกาศถัดวงโคจรของยูเรนัสออกไป และต่อมา โจฮันน์ เกลล์ และ เฮนริช หลุยส์ เดอ อาเรสต์ ก็ได้สังเกตพบดาวเนปจูนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2389 ในตำแหน่งใกล้เคียงกับคำทำนาย
ภาพพื้นผิวดาวเนปจูนที่เต็มไปด้วยพายุ เมฆ(สีขาว)ที่อยู่เป็นกระจุกยาวเหยียดพัดผ่านพื้นผิวของดาวเนปจูนด้วยความเร็วสูง กระแสลมที่มีความเร็วสูงสุดเท่าที่พบบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะใกล้จุดมืดใหญ่ (Great Dark Spot) บริเวณสีดำ กระแสลมพัดเร็วถึง 2,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมฆก้อนหนึ่งจัดผ่านดาวเนปจูนทุกๆ 16 ชั่วโมง นักวิทยาศาสตร์เรียกเมฆนี้ว่า สกูตเตอร์ เพราะเคลื่อนที่เร็วเหมือนสกูตเตอร์
ดวงจันทร์ของดาวเนปจูน
ดวงจันทร์ ไตรตัน (Triton) ดาวบริวารดวงใหญ่สุดของเนปจูน ไตรตันมีขนาดเท่าๆกับดวงจันทร์ของโลก มีพื้นผิวเป็นน้ำแข็งซึ่งมีริ้วรอยเป็นภูเขาสูง มีร่องลึกและหลุมบ่อ เป็นสถานที่ซึ่งวัดอุณหภูมิได้ต่ำถึง -235 องศาเซลเซียสจึง นับว่าเย็นที่สุดในระบบสุริยะ จากยายวอยเอเจอร์ 2 พบว่าบนพื้นผิวหลายแห่งที่มีควันของก๊าซ น้ำแข็งและฝุ่นพุ่งขึ้นมาจากใต้ผิวขึ้นไปสูง 8 กิโลเมตร กระแสลมที่พัดในบรรยากาศอันเบาบางที่ประกอบด้วย ไนโตรเจนพัดควันบนไตรตันให้เบนเป็นทางสีดำอันยาวเหยียด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น